วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557

มารู้จัก WiMax กันดีกว่า


WiMAX คืออะไร
                        WiMAX คือการออกแบบโครงสร้างและอุปกรณ์สื่อสารแบบไร้สายที่ได้ถูกพัฒนามาจาก Wireless LAN หรือ Wi-Fi ผลดีคือ ระยะทำการที่ครอบคลุมมากกว่าเครือข่ายแบบ Wireless LAN หลายเท่า แถมยังได้ความเร็วในการให้บริการสูงเทียบเท่ากัน จึงทำให้ สามารถเชื่อมต่อระหว่างตึกต่าง ๆ ได้ง่ายไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของภูมิประเทศอีกต่อไป


มาตรฐานของระบบ WiMAX
มาถึงตรงนี้ลองดูด้วยเทคนิคกันซักนิด เจ้า WiMAX ย่อมาจาก Worldwide Interoperability of Microwave Access ซึ่งใน ระบบของ WiMAX จะมีองค์ประกอบสองส่วนหลัก ๆ คือ
1. โครงสร้างพื้นฐานจะใช้มาตรฐาน IEEE 802.16 ซึ่งหมายถึงอุปกรณ์หลัก เสาส่งสัญญาณรวมไปถึงวิธีการส่งสัญญาณต่าง ๆ ซึ่งตามมาตรฐานนี้ระยะทางการให้บริการจะอยู่ที่ประมาณ 5 กิโลเมตร เท่านั้น ยังไม่พอ! ขณะนี้ได้มีการพัฒนามาตรฐานใหม่ที่ใช้ชื่อว่า IEEE 802.16a ซึ่งจะเพิ่มขีดความสามารถการทะลุทะลวงผ่านสิ่งกีดขวางได้มากขึ้น และระยะทางระหว่างเสาสัญญาณก็มากอย่างเหลือเชื่อที่ 48 กิโลเมตร
2. คือ IEEE 802.16e หมายถึงตัวอุปกรณ์ลูกข่าย เช่น โน้ตบุ๊ก PDA หรือ Home Computer ที่มีตัวรับสัญญาณ WiMAX นั่นเอง แต่ระยะทางในการใช้บริการนั้นห่างจากเสาสัญญาณอยู่ประมาณ 5 กิโลเมตร
สถานการณ์ของ WiMAX
ในปัจจุบันได้มีการนำเอาระบบ WiMAX ไปลองใช้งานจริง ในส่วนโครงสร้างหลักได้มีการตั้งเสาสัญญาณ WiMAX กระจายเป็น เครือข่ายครอบคลุมบริเวณที่ต้องการให้บริการ หรือนำเอามาใช้เพื่อเพิ่มระยะทางในการให้บริการให้ไกลขึ้นถึงชานเมือง หรือตั้งเสา WiMAX เพื่อรับส่งข้อมูลและกระจายต่อให้กับผู้ใช้ ADSL,DSL ในพื้นที่ที่ลากสายสัญญาณหลักเข้ามาลำบากกลายเป็น Wireless Broadband นั่นเอง
ส่วนในด้านผู้ใช้งานทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วง โดยช่วงแรกในปี 2005 ที่ผ่านมา ได้นำเอาระบบมาให้บริการ internet โดยผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า Fix wireless access อุปกรณ์ตัวนี้จะเป็นตัวรับสัญญาณที่สามารถติดที่ไหนก็ได้ เช่น ข้างตัวบ้าน หรือตัวตึก แล้วรับสัญญาณ WiMAX มา นำไปกระจายต่อยังเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ผ่าน Switch ซึ่งตัวอุปกรณ์จะอยู่กับที่ไม่ได้ขยับไปไหน ดังนั้นในช่วงที่สองหลังจากนี้ จะมีการพัฒนาอุปกรณ์ลูกข่ายให้ใช้งานมาตรฐาน IEEE 802.16e เพื่อให้ใช้งานในขณะที่มีการเคลื่อนที่ และสามารถใช้งานข้ามเสาส่งสัญญาณได้ เช่น ขับรถไปรอบเมืองก็ยังใช้งานได้


ประโยชน์ของ WiMAX กับชีวิตประจำวัน
จะเห็นได้ว่า WiMAX มีจุดเด่นคือระยะทางที่ไกล ความเร็วที่สูง และไม่จำเป็นต้องใช้สายส่งสัญญาณ แถม WiMAX ยังมีการ เข้ารหัสข้อมูลที่ปลอดภัยสูงอีกด้วย WiMAX จะทำให้การติดตั้ง intenet ในสถานที่ต่าง ๆ ทำได้ง่าย เพียงติดตั้งอุปกรณ์เสียบปลั๊กและใช้งาน ทำให้ผู้ให้บริการ internet สามารถให้บริการได้หลากหลายมากขึ้น เช่น การออกร้านในศูนย์ประชุม ก็ให้บริการแก่บริษัทต่าง ๆ ได้สะดวกมากขึ้น ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งก็น้อยกว่า ความเร็วสูงกว่า เมื่อไปเทียบกับการให้บริการข้อมูลผ่านสายสัญญาณ การให้บริการ internet ความเร็วสูงสำหรับที่อยู่อาศัย ด้วยข้อจำกัดของการใช้งานระบบ ADSL ที่เป็นอยู่ในขณะนี้มีมากเช่น ระบบเครือข่ายที่จำกัดชุมสาย และระยะทางระหว่างผู้ใช้กับชุมสาย จำนวนผู้ใช้ที่สามารถให้บริการได้ ทำให้กลุ่มผู้ใช้ตามที่อยู่อาศัยถูกจำกัด ไม่สามารถให้บริการได้เพียงพอกับความต้องการ ดังนั้นการนำเอาระบบ WiMAX มาใช้ จะเป็นการเพิ่มจำนวนผู้ใช้งานให้มากขึ้น และบริการต่าง ๆ ที่จะให้บริการก็มีมากขึ้น เช่น การดูทีวีผ่าน internet หรือการเลือกดูหนังเรื่องที่ต้องการผ่าน internet เป็นต้น การให้บริการ internet ในพื้นที่ห่างไกล หรือในชนบท ด้วยข้อดีของระบบ WiMAX ที่มีระยะทางการรับส่งข้อมูลไกล ดังนั้น พื้นที่ไหนที่ไม่สามารถให้บริการได้ทั้งสายโทรศัพท์ เคเบิล ก็เป็นอีกทางออกสำหรับการใช้งานบริการสื่อสารแบบไร้สายคุณภาพสูงมาตรฐาน IEEE 802.16e ซึ่งเป็นส่วนต่อเติมของ IEEE 802.16a นั้น เป็นคุณสมบัติ พิเศษที่พัฒนาขึ้นมาให้รองรับการใช้งานในแบบที่ต้องเคลื่อนที่ตลอดเวลา เหมาะสำหรับอุปกรณ์แบบพกพาในการเดินทาง ช่วยให้ ผู้ใช้งานสามารถสื่อสารได้โดยให้คุณภาพในการสื่อสารที่ดี และมีเสถียรภาพขณะใช้งาน แม้มีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลาก็ตาม การส่งสัญญาณแบบ Cellular Backhaul สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เป็นการรับส่งข้อมูลระหว่างสถานีฐานของเครือข่าย โทรศัพท์ เพราะช่องสัญญาณของ WiMAX ที่มีขนาดใหญ่ทำให้สามารถรองรับการรับส่งข้อมูลของสถานีฐานได้สะดวกมากขึ้น และไม่ มีข้อจำกัดด้านภูมิประเทศและไม่ต้องอาศัยสายส่งสัญญาณอีกด้วย ทำให้ต้นทุนและค่าเช่าต่อเดือนในการตั้งสถานีฐานลดลงอย่างมาก
Worldwide Interoperability of Microwave Access
ข้อมูลจากและภาพประกอบจาก http://www.cu.co.th/th/product/system-integrated.html
เรียบเรียงโดย นายศุภกฤต ชูโชติ 048 






1 ความคิดเห็น:

  1. อ๋อออออ เข้าใจแล้ว ความรู้ทั้งนั้น เยี่ยมๆๆๆ

    ตอบลบ